viernes, 25 de septiembre de 2009

The Economist: "Where Power Lies" ที่ตั้งของอำนาจ

แปลโดยทีมงานไทยอีนิวส์

18 กันยายน 2552

กองทัพที่พัวพันการเมืองของประเทศไทย

ที่ตั้งของอำนาจ

รัฐประหารช่างเป็นการจัดการที่ล้าสมัย

ฤดูใบไม้ร่วงมักเป็นฤดูรัฐประหารของประเทศไทย เมื่อสามปีที่แล้วพตท.ทักษิณ ชินวัตรซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้บินไปที่กรุงนิวยอร์คเพื่อเข้าร่วมประชุม United Nations General Assembly และเป็นช่วงที่มีข่าวลือสะพัดในกรุงเทพฯว่ามีแผนการกำจัดเขา ผู้บัญชาการกองทัพบกของเขาได้ปฏิเสธข่าวลือทั้งหมด แต่ในวันที่ 19 กันยายน 2549 เขาก็เข้ายึดอำนาจ และในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน กำลังเดินทางไปร่วมประชุม UN ของปีนี้ เขาคงจะต้องหวังว่าประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำรอยอีกครั้ง ตั้งแต่การโค่นล้มทักษิณ ประเทศไทยได้เผชิญอยู่กับความยุ่งเหยิงวุ่นวายจากความขัดแย้งทางการเมือง ทางกองทัพได้สวมบทบาทอย่างเด็ดขาด แม้กระทั่งหลังจากที่พวกเขาสวมบทบาทของการปกครองเป็นแบบพลเรือน มีไม่กี่คนที่เชื่อว่าพวกเขาจะกลับไปสู่กองกรมในไม่ช้านี้

ในโอกาสครบรอบ 3 ปีของการรัฐประหาร ชาวเสื้อแดงที่สนับสุนทักษิณมีกำหนดการชุมนุมในกรุงเทพฯ การรวมตัวเพื่อแสดงพลังน่าจะเกิดขึ้น การออกกพระราชบัญญัติความมั่นคงที่มีการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง จะเปิดโอกาสให้กองทัพเข้ามาควบคุมความสงบเรียบร้อยถ้าตำรวจไม่สามารถจะทำได้ และความขัดแย้งเรื่องการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจได้ก่อให้เกิดการสั่นคลอนภายในกองกำลังเสียแล้ว
นายอภิสิทธิ์ได้พยายามที่จะปลอบขวัญคนไทยว่ารัฐบาลซึ่งมีอายุ 9 เดือน และไม่ค่อยจะลงรอยกันเท่าไหร่ของเขายังมีสัมพันธภาพที่ดีกับทางกองทัพอยู่ ทหารระดับสูงได้ให้คำสัญญาตามปกติว่าจะไม่มีรัฐประหาร และครั้งนี้พวกเขาคงจะค่อนข้างจริงใจกับคำสัญญา มันคงจะดูไม่รอบคอบถ้าจะโค่นล้มนายอภิสิทธิ์ผู้ซึ่งพวกเขาได้ช่วยแต่งตั้งเข้ามาหลังจากที่ศาลตัดสินยุบรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณ และผู้ซึ่งเป็นหนี้บุญคุณพวกเขา
เหล่านายทหารทั้งหลายมักจะบ่นว่าการเมืองในประเทศไทย ซึ่งต่างจากการทหาร เป็นเกมส์ที่สกปรก แต่เป็นเกมส์ที่พวกเขาจัดการได้เพื่อประโยชน์ของพวกเขา หลังจากรัฐประหาร รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เป็นเสรีนิยมถูกทดแทนด้วยรัฐธรรมใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยลดน้อยลง พวกเขาสามารถเพิ่มงบประมาณที่มากขึ้นให้กับกองทัพ (ดูจาก chart) ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถยื่นมือช่วยเหลือนักการเมืองที่เป็นมิตรกับพวกเขาได้อย่างสบาย และการอนุมัติพรบ.ความมั่นคงก็ผ่านไปได้อย่างง่ายดาย

วิธีนี้มันดูจะเป็นวิธีที่สะดวกหลังจากที่กลุ่มสนับสนุนทักษิณได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในเดือนธันวาคม 2550 และรัฐบาลทหารที่ไร้ประสิทธิภาพถูกละทิ้งไป ในไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ผู้ประท้วงเสื้อเหลืองผ่ายขวาก็กลับเข้ามาบนถนนในกรุงเทพฯอีกครั้ง และปฏิเสธที่จะสลายตัวจนกว่ารัฐบาลใหม่จะออกไป หลังจากความวุ่นวายเกิดขึ้นที่ตามมา กองทัพได้กลับมาเป็นหนึ่งใหม่ กลุ่มเสื้อเหลืองเรียกร้องให้มีรัฐประหารอีกครั้ง แต่พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ปฏิเสธที่จะทำตามนั้น แต่เมื่อเขาได้ปฏิเสธที่จะจัดการกับผู้ชุมนุมที่สนามบินสองแห่งเมื่อเดือนพฤษจิกายนที่แล้ว และกลับกัน ได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ลาออก ผลลัพธ์ที่ออกมาก็เหมือนกัน

หลังจากความยุ่งเหยิงที่ถูกก่อขึ้นโดยกองทัพ พวกเขามีความพอใจกว่าในการชักใยอยู่เบื้องหลัง นาย Paul Chambers จาก Heidelberg University ประเทศเยอรมัน กล่าว พวกเขามีเครื่องมือทางกฏหมายทุกอย่างที่จะคุมพลเรือนอย่างนายอภิสิทธิ์ให้อยู่ในโอวาทโดยไม่จำเป็นต้องบริหารประเทศโดยตรง

แน่นอน ความลังเลของพล.อ.อนุพงษ์ที่จะยึดอำนาจไม่ได้ขัดขวางให้นายทหารคนอื่นๆพยายามทำ รัฐประหารหลายครั้งใน 18 ครั้งตั้งแต่ปี 2475 ได้มีการแตกแยกแบ่งออกเป็นหลายฝ่ายภายในกองทัพในช่วงการสับเปลี่ยนตำแหน่งในฤดูใบไม้ร่วง แต่พล.อ.อนุพงษ์ได้เลื่อนตำแหน่งผู้ติดตามของเขาและลงโทษทหารที่สงสัยว่าจะจงรักภักดีต่อทักษิณ เขาจะต้องเกษียนปีหน้าในฐานะผู้บัญชาการทหารบกซึ่งเป็นกองทหารที่สำคัญที่สุด ผู้สืบทอดของเขาคือรองผู้บัญชาการ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ซึ่งเขาอายุน้อยพอที่จะดำรงตำแหน่งถึงปี 2557 เขาถูกมองว่าเป็นอนุรักษ์นิยมมากกว่าผู้บังคับบัญชาของเขาเสียอีก และนอกจากนั้นยังอาจจะยอมสู้เพื่อรักษาความมั่นคงและปกป้องสถาบันกษัตริย์ที่เคารพรัก พล.อ.ประยุทธคงจะมีบทบาทที่สำคัญในช่วงสืบทอดราชบัลลังค์ของกษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชซึ่งมีพระชนมายุ 81 พรรษา

ในเหล่าคนไทย กองทัพบกได้รับความเคารพและความระแวงสงสัยไปพร้อมๆกัน ในการสำรวจล่าสุดโดย Asia Foundation กองทัพบกถูกจัดเป็นอันดับสองรองจากสถาบันยุติธรรมที่มีจรรยาบรรณ (สถาบันกษัตริย์ไม่ได้อยู่ในตัวเลือก) แต่เพียง 37% ของผู้ตอบบอกว่ากองทัพเป็นกลาง ชื่อเสียงของพวกเขาดีขึ้นหลังจากพฤษภาคม 2535 เมื่อกองทัพได้สังหารหมู่ผู้ชุมนุมในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นประชาชนก็ไม่เคยยั้ง ทหารถูกถ่มน้ำลายในที่สาธารณะ แต่รัฐบาลพลเรือนที่ตามมาได้ประสบความล้มเหลวในการปฏิรูปกองทัพที่มีทหารจำนวน 300,000 นาย พวกเขายังมีนายพลที่ยังอยู่ในตำแหน่งหลายร้อยคน และหลายคนที่ไม่มีแม้กระทั่งโต๊ะทำงาน นายทหารที่มียศ 4 ดาวของไทยมีถึง 36 คน ซึ่งตามหลังอเมริกาแค่นิดเดียวคือ 41 คน แต่กองทัพอเมริกาใหญ่กว่าสี่เท่าและกำลังทำสงครามอยู่ด้วย

พตท.ทักษิณซึ่งเข้ามามีอำนาจในปี 2544 ได้กระทบกองทัพบกสองด้าน ด้านแรกเขาได้คุมการใช้จ่ายของกองทัพ ซึ่งหมายถึงจำนวนคอมมิชั่นมหาศาลที่น้อยกว่าในการซื้ออาวุธที่แพง ด้านที่สอง เขาเข้าไปแทรกแซงการเลื่อนตำแหน่งของทหารประจำปี ภายใน 2 ปีเขาได้มอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้กับลูกพี่ลูกน้องของเขา และมันได้ทำให้เขาเป็นคู่อริกับเปรม ติณสูลานนท์ นายพลที่เกษียณแล้วและเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ภูมิพล การมอบหมายตำแหน่งในระดับสูงเป็นขอบเขตของเปรม ผู้เป็นหนึ่งในองคมนตรี นักการเมืองใหม่ไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว ผลที่ตามมาจากความขัดแย้งระหว่างเปรม-ทักษิณ และรัฐประหารปี 2549 ทำไห้ทหารกลับออกมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ซึ่งพวกเขาอาจจะไม่ได้ออกไปจากมันเลยก็ได้

ประชาธิปไตยในเอเซีย อย่างเช่นในอินโดนีเซีย หรือเกาหลีใต้ ได้ผลักการปกครองโดยทหารไปอยู่ข้างหลังพวกเขาแล้ว แต่กระนั้น ประเทศไทยกำลังว่ายสวนทางกัน รัฐบาลพลเรือนซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนอาจจะเปลี่ยนทิศทางได้ แต่ชนชั้นสูงในกรุงเทพฯจะไม่ยอมรับรัฐบาลที่สนับสนุนทักษิณอีก วันที่ 19 กันยายนนี้ เสื้อแดงมุ่งมั่นที่จะเดินขบวนไปยังบ้านพักของพล.อ.เปรม ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้วางแผนรัฐประหาร 2549 กองทัพของไทยเชื่อว่าพวกเขาเป็นผู้ปกป้องราชบัลลังค์และสงสัยแผนการสู่สาธารณรัฐของเสื้อแดง ซึ่งด้วยเหตุผลนั้น นายพลต่างๆยังไม่เต็มใจที่จะปล่อยมือจนกว่าการสืบราชบัลลังค์จะสิ้นสุดลง แต่การปราบปรามการชุมนุมใหญ่ในนามของกษัตริย์ที่ดึงดูดใจประชาชนเป็นเรื่องหนึ่ง และเหมือนที่กองทัพเนปาลได้เรียนรู้เมื่อปี 2549 การกระทำอย่างเดียวกันต่อ ** (เซ็นเซอร์) ***** เป็นสูตรสำเร็จของความพ่ายแพ้

ที่มา http://www.economist.com/world/asia/displaystory.cfm?story_id=14456895

No hay comentarios:

Publicar un comentario